โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม ( OSTEOARTHRITIS )

          โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการสึกของกระดูกอ่อนผิวข้อมีกระดูกงอกอยู่ที่ขอบข้อกระดูกอ่อนที่ผิวข้ออาจลอกหลุดทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง มีอาการปวดในข้อ ข้อผิดรูปร่าง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและรับน้ำหนักไม่ไหว

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเสื่อม

          อาการของโรคข้อเสื่อมจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นได้ทุกข้อ อาการปวดมักเริ่มจากอาการปวดตอนเช้า เมื่อบริหารและอาการปวดลดลง หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลงเวลาขยับเกิดเสียงกระดูกเสียดสี ข้อโตขึ้น เนื่องจากมีการสร้างกระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อ เอ็น และเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นทำให้ข้อผิดรูป กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงเวลาเคลื่อนไหวจะทำให้ปวดมากขึ้น

ข้อเสื่อมพบได้บ่อยไหม

โรคข้อเสื่อมมีปัจจัยหลายข้อที่เกี่ยวข้อง ทำให้พบได้บ่อยใน

  1. ผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 40, 50 และ 60 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะช่วงวัยทองจะมีการสึกกร่อนของข้อมากขึ้นเป็นลำดับ
  2. เพศหญิง จะมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชายและมักพบข้อเสื่อมบริเวณเข่าและมือในขั้นรุนแรง
  3. น้ำหนักตัวยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมาก
  4. อุบัติเหตุบริเวณข้อ มักพบในนักกีฬาและอุบัติเหตุอื่นๆ
  5. อาชีพ เช่น ชาวไร่ ชาวนามักพบข้อเสื่อมบริเวณบั้นเอวหรือแม่ค้ามักพบโรคข้อเสื่อมของข้อเข่าส่วนแม่บ้านพบข้อนิ้วเสื่อมมากที่สุด

ข้อกระดูกปกติ

– จะมีกระดูกอ่อนอยู่ที่ปลายของกระดูก 2 ท่อนที่มาเชื่อมต่อกันเป็นข้อ ทำหน้าที่ลดแรงที่กระทำต่อข้อและทำให้ข้อเคลื่อนไหวด้วยความราบรื่น

ข้อกระดูกเริ่มเสื่อม

– กระดูกอ่อนผิวข้อจะเริ่มบางลงผิวไม่เรียบ ทำให้เมื่อเคลื่อนไหว กระดูกอ่อนจะเสียดสีกัน เกิดเสียงดังกรอบแกรบ

ข้อกระดูกที่เสื่อมแล้ว

– กระดูกอ่อนผิวข้อสึกมากเวลาเคลื่อนไหวกระดูกแท้จะเสียดสีกันทำให้เกิดความเจ็บปวดข้อฝืด เคลื่อนไหวไม่สะดวก

เราสามารถจัดการกับโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร

การรักษาโรคข้อเสื่อมมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในระยะแรก มักจะใช้ยาแก้ปวดธรรมดา เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบ และทำกายภาพบำบัด รวมทั้งการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมาก อาจใช้วิธีฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม ซึ่งอาจต้องฉีดโดยประมาณทุก 6 เดือน หรือในบางรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากจนใช้วิธีอื่นไม่ได้ผล แพทย์วินิจฉัยให้ใช้วิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแทน อย่างไรก็ตามการรับประทานยาต้านอักเสบ มักทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถใช้ยาได้

การรักษาโรคข้อเสื่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ในปัจจุบัน

          นอกจากการรักษาและปฏิบัติตนให้ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น วิทยาการสมัยใหม่ได้มีการนำสารคอลลาเจนไฮโดรไลเซทซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่หุ้มรอบของปลายกระดูกในข้อมารับประทาน ซึ่งพบว่าสารคอลลาเจนไฮโดรไลเซทนี้ไม่เพียงแต่สามารถเข้าไปทดแทนในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนเท่านั้น แต่ยังไปกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจน (Collagen type ll) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในกระดูกอ่อนในข้อเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้การรักษาโรคข้อเสื่อม มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะสาเหตุหลักของข้อเสื่อมคือ การสูญเสียเนื้อกระดูกอ่อน

คลอลาเจน ไฮโดรไลเซท คืออะไร

          คือโปรตีนที่ประกอบด้วย กรดอะมิโนหลายชนิดที่สำคัญรวมกัน ได้แก่ ไกลซีน โปรลีน และ ไฮดรอกซีโปรลีน ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อ

คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท ช่วยโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร

          ผลการวิจัยและทดลองทางคลินิกมานานกว่า 20 ปี พบว่าคอลลาเจนไฮโดรไลเซท มีผลดีต้อข้อโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อเสื่อมคือ

  • สามารถลดอาการปวด
  • ลดการใช้ยาแก้ปวด และยาต้านการอักเสบ
  • ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น

เราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

          ในรายที่มีข้อเสื่อม มีอาการข้อยึด หรือการเคลื่อนไหวไม่สะดวกและปวดหลังการรับประทานคอลลาเจนไฮโดไลเซท วันละ 10 กรัม จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง คืออาการปวดข้อ ข้อยึดนั้นลดน้อยลงได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป

การรับประทาน คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท มีความปลอดภัยหรือไม่

          สารตัวนี้เป็นโปรตีนซึ่งจัดเป็นอาหารไม่ใช่ยา จึงมีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานได้ทั่วไปยกเว้นผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องการจำกัดโปรตีน จึงไม่ควรใช้นอกจากผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อเสื่อมแล้ว คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท ยังมีประโยชน์อื่นอีกคือในผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุน เช่น ผู้หญิงในวัยทองที่จำเป็นต้องเสริม แคลเซียม และใช้ยาป้องกันการสลายของแคลเซียมจากกระดูก

          เมื่อรับประทานคลอลาเจน ไฮโดรไลเซท ร่วมด้วย พบว่ามีผลทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และการสลายแคลเซียมจากกระดูกได้ดีกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว ส่วนประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับในผู้ที่รับประทาน คอลลาเจน ไฮโดรไลเซทคือ ทำให้ร่างกายแข็งแรง

จากหนังสือ BONE&JOINT รู้รักษา รู้ป้องกัน โรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุน
โดย รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์