Monthly Archives: December 2022

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (self-monitoring of blood glucose, SMBG) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและเสริมพลัง (empowerment) ให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความสามารถในการดูแลตนเองร่วมกับการให้ความรู้ในด้านอื่นๆ SMBG ทำได้ทุกเวลาโดยการเจาะเลือดปลายนิ้วซึ่งเป็นเลือดจากหลอดเลือดแคปิลลารี (capillary blood) หยดเลือดลงแถบทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา (blood glucose meter) ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการสอนให้ทำ SMBG เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสอนการแปลผลเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมเบาหวาน โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามสาเหตุของการเกิดโรค โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง บ่อยแค่ไหน ผู้ป่วยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ควรตรวจก่อนอาหาร 1 หรือ 2 ชั่วโมง ทั้ง 3 มื้อ และ ก่อนนอน (วันละ 7 ครั้ง) อาจลดจำนวนครั้งลงเมื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ควรตรวจวันละ 4-6 ครั้ง ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินตั้งแต่

โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม ( OSTEOARTHRITIS )           โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการสึกของกระดูกอ่อนผิวข้อมีกระดูกงอกอยู่ที่ขอบข้อกระดูกอ่อนที่ผิวข้ออาจลอกหลุดทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง มีอาการปวดในข้อ ข้อผิดรูปร่าง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและรับน้ำหนักไม่ไหว ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเสื่อม           อาการของโรคข้อเสื่อมจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นได้ทุกข้อ อาการปวดมักเริ่มจากอาการปวดตอนเช้า เมื่อบริหารและอาการปวดลดลง หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลงเวลาขยับเกิดเสียงกระดูกเสียดสี ข้อโตขึ้น เนื่องจากมีการสร้างกระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อ เอ็น และเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นทำให้ข้อผิดรูป กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงเวลาเคลื่อนไหวจะทำให้ปวดมากขึ้น

เรียนรู้และทำความรู้จักกับความดันโลหิต

ความดันโลหิต เป็นค่าความดันที่วัดได้ในหลอดเลือดแดง โดยเกิดขึ้นในช่วงหัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย (เรียกค่าความดันซิสโตลิค)และช่วงที่หัวใจคลายตัว (เรียกค่าความดันไดแอสโตลิค) ความดันโลหิตนั้นส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในทางการแพทย์ใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคต่างๆรวมไปถึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงอันตรายของภาวะโรคแทรกซ้อนและความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตผิดปกติโดยความดันโลหิตจะแบ่งเป็น 2 ค่าหลักดังนี้ เมื่อทราบค่าความดันโลหิตจากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐานแล้วสามารถนำค่ามาเทียบกับตารางด้านล่างเพื่อให้ทราบถึงภาวะความดันโลหิต ที่ทางการแพทย์จะนำมาวินิจฉัยว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เข้าข่ายมีควาเสี่ยง หรือเป็นภาวะโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่